จากปี 2549 ที่เราไม่ทราบอะไรเลย ไม่รู้ใครเป็นใคร จนมาถึงวันนี้ ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ได้รู้ว่าใครอยู่เบื้องหลัง คนแต่ละกลุ่ม รู้ว่าเหตุการณ์ดำเนินมาถึงทุกวันนี้เพราะอะไร ท้ายที่สุดคน ชนชั้น ไหนได้ประโยชน์ คน ชนชั้น ไหนยังกุมอำนาจไว้ได้ คาดเดาไม่ยากหรอกครับ ว่าอีกไม่นาน .....เพี่ยงแต่.....จะจบอย่างไรนี่สิ.....
Monday, April 27, 2009
บทบาทของสื่อสารมวลชน
ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์
อดีตบรรณาธิการข่าว หนังสือพิมพ์ไทยไฟแนนเชียล
อดีตผู้ช่วยบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ข่าวพิเศษรายสัปดาห์
ปัจจุบันเป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์เพื่อนนักลงทุน TNN 24
ในฐานะที่เป็นคนข่าวอยู่ร่วม 10 ปีเศษ และตอนนี้ก็ทำหน้าที่สื่ออยู่ ผมมีความรู้สึกทั้งไม่สบายใจและคับข้องใจต่อบทบาทของสื่อสารมวลชนในปัจจุบัน 3 ด้านหลักๆ คือ
1.สื่อไม่ได้นำหน้าที่เป็นผู้รายงานข่าวอย่างเป็น ‘สื่อกลาง’
2.สื่อไม่ได้ปฏิบัติงานเยี่ยงนักวิชาชีพที่ควรจะต้องรอบด้าน และตรวจสอบอย่างดีก่อนนำเสนอ
3.สื่อได้ประกาศตัวชัดเจนว่า จะเลือกข้างอยู่ข้างหนึ่ง เป็นกระบอกเสียงให้ฝ่ายหนึ่ง และโจมตีอีกฟากหนึ่ง
ผมมีข้อเสนออยู่ 3 ประเด็นที่สำคัญคือ ต้องมีการตรวจสอบสื่ออย่างเข้มข้นจากประชาชน และต้องทำอย่างวิชาชีพอื่นเขาทำกัน นั่นคือ มีการควบคุมและมีมาตรการที่มีบทลงโทษที่ชัดเจน ไม่ใช่พูดกันว่า ให้สื่อตรวจสอบกันเอง แล้วก็เข้าข้างกันเองอย่างที่เป็นอยู่
1.สื่อไม่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้รายงานข่าวอย่างเป็น ‘สื่อกลาง’ ผมไม่ขอใช้คำว่า ‘เป็นกลาง’ เพราะความเป็นกลางนั้นมันไม่มีอยู่จริง แต่หลักง่ายๆ คือการเป็น ‘สื่อกลาง’ นั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่สื่อต้องทำให้ได้ก่อน
ปรากฎการณ์ที่หญิงผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงรายหนึ่งไปทะเลาะกับสื่อหรือประชาชนก็ตาม แล้วโดนจิกหัวลากไปกับพื้น ต่อมาเมื่อเธอไปแถลงข่าวต่อที่ประชุมนักข่าวรัฐสภา เรื่องอย่างนี้มันยากเย็นนักหรือที่สื่อจะรับฟังปากคำของเธอ แต่เรากลับเห็นสื่อภาคสนามจำนวนมากตั้งป้อมไว้ก่อน เช่น ก็คุณไป:-)น้ำลายใส่เขาก่อน เขาจิกหัวลากไปกับพื้นก็สมควรแล้ว, คุณมาแถลงข่าวกับสื่อทำไม ก็ไปแจ้งความโรงพักโน่นสิไป, ทำไมคุณไม่รอฟังรัฐบาลชี้แจงความจริงก่อนค่อยมาแถลงข่าว, คุณทำไมเคี้ยวหมากฝรั่งไปพูดไป รัฐมนตรียังไม่แสดงกริยาแบบนี้กับนักข่าว ฯลฯ
หลักปฏิบัติมันก็ง่ายๆ แค่นี้แหละครับ สื่อก็ต้องฟังเขาก่อนให้จบ จบแล้วสงสัยอะไรก็ซักถาม หากเห็นว่า ควรต้องตรวจสอบข้อมูลให้รอบด้าน ก็ต้องตรวจสอบ แล้วก็ส่งรายงานข่าวดิบไปยังกองบรรณาธิการ บรรณาธิการก็ย่อมใช้วิจารณญาณและความเป็นนักวิชาชีพเองว่า จะนำเสนอข่าวชิ้นนี้ออกมาให้มีดุลถ่วง และเป็น ‘สื่อกลาง’ ในการนำเสนอออกไปได้อย่างไร
ลำพังแค่สื่อตัดสินแหล่งข่าวเสียแล้วว่า คุณมันเลว ก็สมควรโดน, คุณมาผิดที่ต้องไปโรงพัก, คุณไม่ยอมฟังเรื่องจริงจากรัฐบาลแล้วแร่มาแถลงข่าว แถลงก็ทำตัวน่าหมั่นใส้ เคี้ยวหมากฝรั่งไปด้วย แถมมาด่าสื่อว่าไม่เป็นกลางอีก แบบนี้มันก็สอบตกตั้งแต่ข้อแรกแล้ว
2.สื่อไม่ได้ปฏิบัติงานเยี่ยงนักวิชาชีพที่ควรจะต้องรอบด้าน และตรวจสอบอย่างดีก่อนนำเสนอ
อันนี้เป็นหลักปฏิบัติสำหรับนักวิชาชีพสื่อพึงทำ ผมยกตัวอย่างเรื่องหญิงเสื้อแดงนั้นแหละ หากคุณสงสัยว่า หญิงคนนี้ให้ข่าวเท็จ สื่อก็ย่อมสามารถตรวจสอบข่าวนั้นซ้ำ (double check) อาจเป็นการถามซ้ำ ซักทวน ซักแย้ง (แต่ก็ต้องให้แหล่งข่าวเขาพูดให้จบก่อน ไม่ใช่แทรกกลางปล้องตลอดอย่างที่เห็น) หรือหาหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องมาดู หรือตรวจสอบไปยังแหล่งอื่นที่อาจเป็นคนละด้านกับหญิงคนนี้ (cross check) เช่น ทหาร ตำรวจ หรือชาวบ้าน หรือนักข่าวสนามในวันเกิดเหตุ
ที่สำคัญ เรื่องแบบนี้ควรมีการทำรายงานในเชิงสอบสวนสอบสวน (investigative news) ด้วยซ้ำไป เพราะภาพหลักฐานก็ปรากฏ ผู้หญิงคนเสื้อแดงนี่ก็โผล่มาแล้ว สื่อก็แค่ตามหาตัวผู้ชายที่ไปจิกหัวเขาลากสักหน่อย มันหาตัวไม่ยากหรอก คือหากคนๆ นี้ไม่เป็นสื่อมวลชน (เพราะสังเกตว่ามีกล้อง และกระเป๋ากล้องแบบช่างภาพหนังสือพิมพ์ชอบมีกัน) ก็เป็นทหาร (เพราะใส่เสื้อเขียว) หรือไม่ก็ชาวบ้านแถวๆ ที่เกิดเหตุ (ที่เกิดเหตุนี่อยู่แถวๆประตูน้ำ ไปถามหากับวินมอเตอร์ไซค์แถวๆ นั้นก็ได้) ผมก็ไม่เห็นว่า จะหาตัวผู้ชายคนนี้ยากตรงไหน จะได้ซักไซร้ไต่ถามกันให้ได้ความอีกข้าง
ยังขาดการทำข่าวในเชิง investigative news อีกเยอะแยะมากในเหตุการณ์ชุมนุมครั้งนี้ เป็นต้นว่า ที่ชาวบ้านร้านตลาดเขาสงสัยก็คือ พวกม็อบเสื้อแดงนี่มันไม่โง่ก็บ้าที่ตอนเกิดเหตุการณ์ดันไปเขย่าขวัญคนกรุงเทพฯ ทั้งเอารถแก๊สไปตั้งไว้ใกล้แฟลตดินแดง (แต่สื่อก็ไม่ได้สืบค้นว่ามันไปยังไงมายังไง เสนอแต่ว่า เกิดตูมตามขึ้นมา ระเบิดไปในรัศมี 5 กิโล มีตายเป็นเบือ) เหตุการณ์พวกเสื้อแดงไปก่อเรื่องยิงมัสยิด เหตุการณ์ไปยิงชาวบ้านตลาดนางเลิ้งตาย
คำถามพื้นฐานที่สื่อควรสงสัย (หรือคนสติดีๆ ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องเป็นสื่อ) ก็คือ มูลเหตุจูงใจของพวกเสื้อแดงที่ก่อเหตุอาละวาดเป็นหมาบ้านี่มันคืออะไร พวกนี้เห็นคนกรุงเทพฯเป็นศัตรูหรือ? หรือว่าพวกนี้ต้องแสวงหาการสนับสนุนจากคนกรุงเทพฯ และประชาชนทั่วไปไม่ใช่หรือ? แล้วก็ต้องทำรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนให้ปรากฏ ซึ่งผมว่า ก็ไม่ยาก...สื่อก็แค่ถามพวกแกนนำเสื้อแดงที่หน้าทำเนียบในตอนนั้นว่า พวกคุณส่งพวกนี้ไปอาละวาดจริงไหม ทำไมพวกคุณทำแบบนั้น ซึ่งก็คือการ cross check ขั้นเบสิกมากๆ
แต่ที่ผมได้ยินมาก็คือว่า พวกแกนนำเสื้อแดงพยายามติดต่อสื่อ สำนักต่างๆ ไปเพื่อชี้แจงข้อมูลจากมุมมองของเขา แต่สื่อจำนวนมากปฏิเสธที่จะเสนอข่าวในอีกมุม โดยอ้างว่าอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ถูกควบคุมการรายงานข่าวจากรัฐบาล
จากนั้นสื่อก็ทำตัวไม่ต่างไปจากกระบอกเสียงรัฐบาลว่า พวกเสื้อแดงอาละวาดเผาบ้านเผาเมือง เป็นศัตรูกับคนกรุงเทพฯ สื่อบางแห่งยั่วยุให้คนกรุงเทพฯ ตั้งกองกำลังออกมาจัดการพวกเสื้อแดงด้วยซ้ำ
ปัญหามีอยู่ว่า สื่อกลัว พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือว่า เพราะมีอคติ (bias) เป็นพื้นฐานอยู่ด้วย หรือทั้งสองส่วน...
3.สื่อได้ประกาศตัวชัดเจนว่า จะเลือกข้างอยู่ข้างหนึ่ง เป็นกระบอกเสียงให้ฝ่ายหนึ่ง และโจมตีอีกฟากหนึ่ง
เรื่องนี้มีประจักษ์พยานมากมายว่า สื่อเลือกข้าง เลือกปฏิบัติ เป็นกระบอกเสียงโฆษณาชวนเชื่อให้อีกฝ่าย และโฆษณาโจมตีอีกฝ่าย ผมยกตัวอย่างง่ายๆ
-ในตอนที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประท้วงไล่รัฐบาลทักษิณขึ้นสู่กระแสสูง สมาคมวิชาชีพสื่อนั่นเอง แทนที่จะวางตัวเป็นผู้รายงานข่าวที่เป็น ‘สื่อกลาง’ กลับออกแถลงการณ์เสียเอง ให้รัฐบาลทักษิณลาออกหรือยุบสภา
-ในตอนคมช.ทำรัฐประหาร 19 กันยายน สมาคมวิชาชีพสื่อ ทั้งสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ และสภาการหนังสือพิมพ์ ส่งประธานหรือนายกสมาคมฯ ไปเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เสียเอง ยังโชคดีว่า นักข่าวสนามจำนวนมากออกมาต่อต้าน แต่ต้านแล้วก็ไม่ฟัง ทุกวันนี้ยังเตลิดเตลยไปเป็นสมาชิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้งอีก และทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้ฝ่ายที่แต่งตั้งตนเองอีก
-ในตอนรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เกิดปะทะกับพันธมิตรฯ ต้องมีการออกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ สมาคมวิชาชีพสื่อพากันออกแถลงการณ์ประณามว่า รัฐอย่ารุนแรงกับผู้ชุมนุม แนะนำให้รัฐบาลลาออกหรือยุบสภาแก้ปัญหา มาตอนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สื่อออกแถลงการณ์ว่า ผู้ชุมนุมอย่าทำรุนแรง ทักษิณต้องยุติเคลื่อนไหว ปัญหาจะได้จบ รัฐบาลจะใช้กำลังก็แต่พอดี อย่าให้บาดเจ็บล้มตาย...!
-นี่ไม่ต้องพูดถึงเพื่อนร่วมวิชาชีพของผม บรรดานักเล่าข่าวจากค่าย The Nation หริอลูกหม้อเก้าค่ายนี้ที่ทำตัวไม่ต่างไปจากกระบอกเสียงฝ่ายหนึ่ง ให้ร้ายโจมตีอีกฝ่ายตามช่อง 3 5 7 9 NBT TPBS นะครับ ใครที่มีสามัญสำนึกดีก็ย่อมรู้ว่า คนเหล่านี้กำลังทำหน้าที่สื่อกลาง หรือเป็นกระบอกเสียงโฆษณาชวนเชื่อที่เต็มไปด้วยอคติ และทีท่าหน้าตาท่าทางการแสดงออกเต็มที่ว่า กูจะทำตัวแบบนี้ซะอย่าง ใครจะทำไม! ามว่ารัฐอย่ารุนแรงกับผู้ชุมนุมิดปะทะกับพันธมิตรต้องมีการออกประกาศพรก.ฉุกเฉิน สมาคมวิชาชีพสื่อพากันออกแถลงการณ์ประากการแต่งตั้งอ
ข้อเสนอของผมมีง่ายๆ สั้นๆ คือ
1.ก็กลับไปทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง, ทำตัวเยี่ยงนักวิชาชีพ ตรวจสอบอย่างรอบด้าน, ตัดอคติออกเสีย อย่าเลือกข้างให้มันน่าเกลียดน่าชังไปกว่าที่เห็นและเป็นอยู่
2.ตรวจสอบสื่อให้มันได้มาตรฐานทั่วไปหน่อย วิชาชีพอื่นอย่างแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักวิเคราะห์หุ้น ฯลฯ เขามีช่องทางเข้าสู่อาชีพไม่ง่ายนะครับ ต้องเรียนต้องอบรมบ่มเพาะมา ต้องสอบใบอนุญาตให้ผ่าน ต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพ ทำผิดพลาดมามีบทลงโทษตั้งแต่ปรับ, แบล็กลิสต์, ยึดใบอนุญาต, ขังคุก
แต่สื่อมวลชน ประทานโทษนะครับ คุณจะจบอะไรมาก็ได้ คุณไม่ต้องผ่านการฝึกอบรม หรือฝึกฝนอะไรมาก็ได้ ไม่ต้องมีหน่วยงานกลางของทางราชการตรวจสอบว่า หากคุณทำผิด คุณต้องโดนแบล็กลิสต์ โดนยึดใบอนุญาต หรือโดนขังคุกแบบอาชีพอื่นนะครับ
โอเคครับ รุ่นพ่อรุ่นลุงของวงการเราสู้กันมามากเพื่อความเป็นอิสระในวิชาชีพนี้ ไม่ต้องการให้รัฐบาลควบคุม พวกเราจะควบคุมกันเอง แล้วไหนละครับ สภาการหนังสือพิมพ์ สภาการวิชาชีพสื่อ เคยขึ้นแบล็กลิสต์ใครซักรายหรือยัง เคยถอนใบอนุญาตนักข่าวสนาม บรรณาธิการสักกรณีให้เห็นไหม...ไม่มีครับ
แล้วเปรียบเทียบดูง่ายๆ ระหว่าง หมอ วิศวกร สถาปนิก นักวิเคราะห์หุ้น กับสื่อ ใครที่มีบทบาทมีผลกระทบต่อสังคมวงกว้างมากกว่ากันในการปฏิบัติหน้าที่...? หมอรักษาคนผิด โดนแพทยสภายึดใบอนุญาต ส่งตัวเข้าคุก วิศวกรออกแบบตึกผิด ตึกถล่มคนตาย โดนยึดใบอนุญาต ส่งเข้าคุก
นักข่าวส่งข่าวเข้าโรงพิมพ์ผิด ประเทศชาติเสียหาย คนทั้งชาติได้รับผลกระทบ นักข่าวก็ยังสบายดี ตกเย็นไปเมากันที่ Sky high หรือข้าวต้มอนันต์กันปกติ พรุ่งนี้สายๆ ก็เข้าโรงพิมพ์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สังคมต้องเรียกร้องรูปธรรมในการกำกับสื่อครับ เอาเบื้องต้นนี้แหละ เอาแค่แบบที่วิชาชีพอื่นต้องปฏิบัติ เสรีภาพย่อมมาคู่กับความรับผิดชอบครับ