กองทัพไทย มีแสนยานุภาพเหนือกว่ากัมพูชา ด้วยกำลังทหาร 3 แสนนาย + ยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย
ยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก ส่วนหนึ่งได้รับการช่วยเหลือตามโครงการ JUSMAG ของสหรัฐอเมริกา
อาวุธปืน : มีตั้งแต่ปืนพก ปืนเล็กยาว ปืนกล ไปจนถึงเครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง
ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน : ที่น่าสนใจคือ Bofors L40/70 ของสวีเดน ที่เหลือเป็นของสหรัฐและจีน
อาวุธปืนประจำกายของทหารไทยส่วนใหญ่ซื้อจากสหรัฐ อิสราเอล รัสเซีย ออสเตรีย เบลเยียม และเยอรมนี
ปืนใหญ่ซื้อจาก สหรัฐ ฝรั่งเศส อิสราเอล แคนาดา อังกฤษ จีน
ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ซื้อจากสวีเดน จีน และสหรัฐ
ยุทธยานยนต์ : รถถังหลัก (USA) M-60A 1/A3178 คัน , M-48A5 105 คัน , (จีน) Type 6911 (ลอกจาก T-55 ของโซเวียต ) กว่า 50 คัน
รถถังเบา (USA) Commando Stingray จำนวน 106 คัน , M 41A2 Walker Bulldog 200 คัน
รถถังเบา (อังกฤษ) Scorpion CVR 154 คัน
รถสายพานลำเลียงหุ้มเกราะ
BTR-3EI (ยูเครน) 96 คัน
รถส่งกำลังบำรุง (USA) M11A1/A3 และ M 577A3 จำนวน 340 คัน ,
รถหุ้มเกราะ Commando (M706) 138 คัน
Condor (เยอรมนี) 18 คัน , รถลาดตระเวณจับเรดาร์ Rasit
YW 531 H (จีน) 450 คัน
รถหุ้มเกราะ REVA 4x4 (แอฟริกาใต้)
รถหุ้มเกราะ Alvis Saracent (อังกฤษ)
แสนยานุภาพทางอากาศ
อากาศยาน : เต็มไปด้วยอากาศยานชั้นเลิศ รวมทั้งอากาศยานยอดนิยมของโลกอย่าง Chinook , Cobra, blackhawk, CESSNA
นอกจากนี้ ยังมีเครื่องบินตรวจการณ์ที่ซื้อจากอิสราเอล และเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่ซื้อจากเยอรมนี, ฝรั่งเศส และสวิสเซอร์แลนด์
เครื่องบินลำเลียง นอกจาก c-130 แล้ว ยังมี BT-67 ของสหรัฐ , Nomad ของออสเตรเลีย, G.222 ของอิตาลี และ HS-748 ของอังกฤษ , Airbus ของสหภาพยุโรป และ Saab ของสวีเดน
แสนยานุภาพทางทะเล
เขี้ยวเล็บของกองทัพเรือไทย ประกอบด้วย
เรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ
เรือฟรีเกต 10 ลำ
เรื่อคอร์เวต 7 ลำ
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 2 ลำ
เรือตรวจการณ์ 26 ลำ
เรือเร็วโจมตีเร็วอาวุธปล่อยนำวิถี 6 ลำ
เรือโจมตีลำเลียงพล 9 ลำ
เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำโขง 77 ลำ
เรือช่วยรบ 15 ลำ
เรือวางทุ่นระเบิด 7 ลำ
กองบินทหารเรือ : กำลังพล 1,700 นาย , เครื่องบินรบ 44 ลำ ,เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง 14 ลำ
เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือผิวน้ำ 8 ลำ และนาวิกโยธิน 18,000 นาย
หน่วยซีล เป็นหน่วยทำลายใต้น้ำจู่โจม รวม 144 นาย มีอาวุธประจำเรือคือ ปืน HK G36C
แสนยานุภาพของกองทัพกัมพูชา
กองทัพกัมพูชา ถูกมองว่าด้อยกว่าไทยในเรื่องกำลังทางยุทธยานยนต์ และล้าสมัย
ยุทโธปกรณ์หลัก คือเครื่องบินรบ MIG-21 ที่มีประมาณ 2-3 ลำ มีเฮลิคอปเตอร์ขนส่งเก่า ๆ ตั้งแต่สมัยโซเวียตอยู่จำนวนหนึ่ง
กำลังพลของกัมพูชาไม่เป็นที่แน่ชัด อยู่ระหว่าง 70,000 - 130,00 นาย
กองทัพบก มีกำลังพลราว 40,000 นาย
กองพลทหารราบ 6 กองพล
มีกรมทหารราบอิสระ 3 กรม
กรมทหารม้า 1 กรม
กรมยานเกราะ 3 กรม
มีหน่วยรบย่อย ๆ ที่เป็นอิสระและแตกเป็นกลุ่มอีกประมาณ 60 กลุ่ม รวมทั้งหน่วยรบพิเศษ
กองพันรถถัง 4 กองพัน
ยุทโธปกรณ์ : มีปืนเล็ก จนถึงปืนใหญ่ ขีนาวุธจากพื้น-สู่-อากาศ SA-7
กองทัพเรือ มีกำลังพลราว ๆ 950 นาย
เรือลาดตระเวณสมัยสหภาพโซเวียต
TURYA - 2 ลำ
STENKA - 2 ลำ
ZHUK - 2 ลำ
เรือลาดตระเวณในแม่น้ำ KAND - 5 ลำ
HDML - 1
SHMEL - 4
T-4 - 2 ลำ
กองทัพอากาศ
มีบุคลากรประมาณ 1,000 นาย
อากาศยานของกัมพูชา แต่ปัจจุบันไม่ทราบว่ายังใช้ได้กี่ลำ
เครื่องบินขับไล่ MIG-21 จำนวน 22 ลำ
เครื่องบินลำเลียง An-2 และ An-24 จำนวนหนึ่ง
เฮลิคอปเตอร์ Mi-8 จำนวน 3 ลำ, Mi-17 จำนวน 6 ลำ
เครื่องบินขับไล่ F-6 จำนวน 5 ลำ
เครื่องบินมือสองจากโอมาน BN DEFENDER จำนวน 2 ลำ
ฐานทัพอากาศสำคัญของกัมพูชา อยู่ที่ นครวัด พระตะบอง โพเชนตง และเสียมราฐ
ถ้ามีการเปิดศึกสงครามกันอย่างเต็มรูปแบบ จะไม่เป็นปัญหาสำหรับกองทัพไทย แต่กองทัพไทย
จะเผชิญปัญหา ถ้าสงครามขยายไปสู่การสู้รบแบบกองโจร ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสงคราม
ชายแดนในปี 2530-2531 ระหว่างไทยกับลาว ที่รู้จักกันในชื่อ ยุทธภูมิร่มเกล้า ที่จบลงด้วยการที่
กองทัพไทยสูญเสียกำลังพลไปเป็นจำนวนมาก
ทหารกัมพูชา มีความคล้ายคลึงกับทหารลาว คือ ขาดอาวุธและได้รับเงินน้อย แต่ทหารกัมพูชาส่วนใหญ่เคยเป็นทหารเขมรแดง ที่ขึ้นชื่อเรื่องความเชี่ยวชาญในการรบ พวกนี้ยังมีความอดทนและเหี้ยมเกรียมอยู่มาก อีกทั้งยังคุ้นเคยกับการทำสงครามนอกรูปแบบอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรคจากกับระเบิด ที่ตกค้างมาตั้งแต่สมัยสงครามกลางเมือง อาจสร้างปัญหาในการรุกคืบของทหารไทย และทำให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บได้